สะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของเลือด ลม และน้ำเหลือง เกิดรอยโรคแสดงออกมาทางผิวหนัง ทำให้ผิวหนังพิการ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โดยผื่นจะมีลักษณะ เป็นผื่นสีแดงค่อนข้างหนาและมีสะเก็ดสีขาวปกคลุม ผื่นสะเก็ดเงินมักเริ่มต้นที่ศีรษะก่อนจะกระจายไปยังส่วนอื่น ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณศอกและเข่า หรือตำแหน่งที่มีการเกาหรือเสียดสี ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินจะมีอาการคันร่วมด้วย โดยโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่มีการติดเชื้อและไม่แพร่เชื้อ ถึงแม้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้โรคสงบได้
รอยโรคสะเก็ดเงินแบ่ง ได้เป็น 2 ชนิด (ตามสมุฏฐานธาตุพิการ) ดังนี้
รอยโรคสะเก็ดเงินอันเกิดจากเลือดและลม ผิวหนังบริเวณรอยโรคจะแบนราบ มีลักษณะแห้ง มีสะเก็ดบางๆ ละเอียด สีขาวปกคลุมอยู่ สะเก็ดจะหลุดร่วงได้ง่าย มักพบสะเก็ดตกตามอยู่ตามที่นอน
รอยโรคสะเก็ดเงินอันเกิดจากเลือดและน้ำเหลือง ผิวหนังบริเวณรอยโรคจะนูน ขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดใหญ่สีขาวขุ่นคลุมอยู่ที่บริเวณข้อพับต่างๆ เช่น ข้อศอก ลักษณะชื้น เป็นปื้นแดงหนา อาจพบตุ่มหนองได้
ในทางแผนไทยเปรียบเทียบรอยโรคสะเก็ดเงินไว้ดังนี้
- โรคสะเก็ดเงินอันเกิดจากเลือดและลม มีลักษณะคล้ายเรื้อนมูลนก และโรคสะเก็ดเงินอันเกิดจากเลือดและน้ำเหลือง มีลักษณะคล้ายเรื้อนกวาง
- โรคเรื้อนมูลนก “ลักษณะเรื้อนมูลนก เมื่อบังเกิดนั้นผุดขึ้นมาเป็นแว่น เป็นวงขึ้นตามผิวหนัง เล็กก็มีใหญ่ก็มี สีขาวนุงๆ ขอบนั้นนูน ดูสัณฐานดังกลากพรรนัย ทำให้คัน ถ้าลามเข้าไปทั้งตัว พยาธิอันนี้หายบ้าง มิหายบ้าง แต่ไม่ตาย เป็นแต่ลำบาก”
- โรคเรื้อกวาง “ลักษณะเรื้อนกวาง เมื่อบังเกิดนั้น เกิดตามข้อมือและข้อเท้า และกำด้นต้นคอ กระทำให้เป็นน้ำเหลืองลามออกไป ครั้นต้องยาเข้าก็แห้งเข้า บางทีก็หายขาด บางทีก็ไม่หาย แต่ไม่ตาย เป็นลำบาก”
- ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) รอยโรคเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย
- ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ผิวหนังมีลักษณะแดงและมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย อาจเกิดจากการขาดยาหรือมีปัจจัยกระตุ้น
โรคสะเก็ดเงินชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้
- ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis) : เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด รอยโรคเป็นผื่นแดงหนา ขอบเขตชัด ขุยหนาสีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า”โรคสะเก็ดเงิน” พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขา โดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่าซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเสียด
- ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) : รอยโรคเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขุยขาว ผู้ป่วยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี และอาจมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน
- ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) : รอยโรคเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย
- ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis) : เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ผิวหนังมีลักษณะแดงและมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย อาจเกิดจากการขาดยาหรือมีปัจจัยกระตุ้น
การรักษาโรคสะเก็ดเงิน
การรักษาสะเก็ดเงิน ด้วยยาสมุนไพร จะรักษาอาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของเลือดและน้ำเหลือง
เน้นการรักษาที่แก้จากภายในอย่างตรงจุดพร้อมกับรักษาอาการภายนอกควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งยังให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมให้หายเร็วยิ่งขึ้น
- ยาสมุนไพร : ยาสมุนไพรที่ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันระบบเลือดระบบน้ำเหลืองในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น และยังช่วยบำรุงเลือดกระจายลมทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ สมุนไพรที่มีรสเย็น ,สมุนไพรที่มีรสสุขุม
- การใช้ยาทาภายนอกการใช้ยาทาภายนอก เพื่อลดอาการผื่นสะเก็ดเงิน ลดอาการคันและเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว โดยมีขี้ผึ้งสมุนไพร น้ำมันทศพฤกษ์ สบสารสกัดสมุนไพรเข้มข้น แชมพูใบหมี่ และสบู่สมุนไพร
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ทำให้เกิดสะเก็ดเงินกำเริบ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงและลดปัจจัยที่ทำให้อาการกำเริบโดยจะต้องหลีกเลี่ยงการแกะการเกาบริเวณผื่น หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเครียดนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและงดอาหารแสลง งดการดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่
- ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง : ที่สำคัญผู้ป่วยที่เป็นสะเก็ดเงินควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและต้องมีวินัยในการดูแลตนเอง